"จุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ไม่ใช่ความรัก แต่จุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ คือความเข้าใจ"

การเคลื่อนที่แนวตรง

การเคลื่อนที่แนวตรง
                            การเคลื่อนที่แนวตรงของวัตถุเป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เปลี่ยนทิศมีทั้งในแนวระดับและแนวดิ่ง สำหรับการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งจะเป็นการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ปริมาณต่างๆซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ที่ต้องศึกษาได้แก่ ระยะทาง การกระจัด อัตราเร็วเฉลี่ย อัตราเร็วขณะหนึ่ง ความเร็วเฉลี่ย ความเร็วขณะหนึ่ง และความเร่งเฉลี่ย รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ในการศึกษาเกี่ยวกับอัตราเร็วเฉลี่ยโดยใช้เครื่องเคาะสัญญาณเวลา
               อัตราเร็วและความเร็วต่างเป็นปริมาณที่บอกว่าวัตถุเคลื่อนที่เร็วอย่างไร แต่อัตราเร็วเป็นปริมาณสเกลาร์ที่บอกแต่ขนาด ส่วนความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ซึ่งต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง โดยอัตราเร็วเฉลี่ยหาได้จากอัตราส่วนระหว่างระยะทางที่เคลื่อนที่ได้กับช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ส่วนความเร็วเฉลี่ยหาได้จากอัตราส่วนระหว่างการกระจัดกับเวลาที่ใช้ในช่วงนั้น อัตราเร็วและความเร็วมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที ( m/s )






ในการศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ ตำแหน่งของวัตถุจะมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงต้องมีการบอกตำแหน่งของวัตถุ เพื่อความชัดเจนการบอกตำแหน่งจะต้องเทียบกับจุดอ้างอิง
                ระยะทาง (Distance, ) หมายถึง ระยะที่เคลื่อนที่ได้โดยคิดตามเส้นทางจริงซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์
            การกระจัด (Displacement, ) หมายถึง ระยะที่คิดตรงจากจุดตั้งต้นไปยังจุดสุดท้าย เป็นปริมาณเวกเตอร์ซึ่งต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง
การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์

























การเคลื่อนที่แบบวงกลม
      การเคลื่อนที่แบบวงกลมเป็นการเคลื่อนที่ที่มีการเปลี่ยนทิศทางตลอดเวลา ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ในแนววงกลม ต้องมีแรงลัพธ์กระทำต่อวัตถุในทิศพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางตลอดเวลา ซึ่งเรียกแรงลัพธ์นี้ว่า แรงสู่ศูนย์กลาง () โดยแรงสู่ศูนย์กลางมีทิศตั้งฉากกับความเร็วของวัตถุตลอดเวลา






























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น