"จุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ไม่ใช่ความรัก แต่จุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ คือความเข้าใจ"

คลื่นกล

คลื่นกล (Mechanical Wave )

       คลื่น กล คือการถ่ายโอนพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยการเคลือนที่ไปของคลื่นต้องมีโมเลกุลหรืออนุภาคตัวกลางเป็นตัวถ่าย โอนพลังงานจึงจะทำให้คลื่นแผ่ออกไปได้  ดังนั้นคลื่นกลจะเดินทางและส่งผ่านพลังงานโดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่ง อย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง เพราะตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่แต่จะสั่นไปมารอบจุดสมดุล  ต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เดินทางโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง

         คำว่าคลื่นตามคำจำกัดความ หมายถึง การรบกวน (disturbance) สภาวะสมดุลทางฟิสิกส์ และการรบกวนนั้นจะเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งออกไปยังอีกจุดหนึ่งได้ตามเวลาที่ผ่านไป  ในบทนี้จะกล่าวถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ของคลื่นในทางฟิสิกส์
1. จำแนกคลื่นตามความจำเป็นของการใช้ตัวกลางในการแผ่ การจำแนกประเภทนี้สามารถแบ่งคลื่นออกได้ 2 ชนิด คือ
                    1.1 คลื่นกล (Mechanical Wave) เป็นคลื่นที่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการแผ่ เช่น คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก คลื่นเสียง เป็นต้น
                    1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) เป็นคลื่นที่เกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ในทิศทางตั้งฉากซึ่งกันและกัน และต่างก็ตั้งฉากกับทิศทางการแผ่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถแผ่ไปได้ในบริเวณสุญญากาศ ซึ่งไม่มีตัวกลางอยู่เลย หรือแผ่ผ่านบริเวณที่มีตัวกลางต่างๆก็ได้ คลื่นประเภทนี้ เช่น คลื่นวิทยุ เรดาร์ ไมโครเวฟ แสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ เป็นต้น
2. จำแนกคลื่นตามลักษณะการสั่นของแหล่งกำเนิด หรือตามลักษณะการแผ่ การจำแนกประเภทนี้สามารถแบ่งคลื่นออกได้ 2 ชนิด คือ
      1)  คลื่นตามขวาง  (transverse  waves)  คลื่นตามขวางเป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางที่เคลื่อนที่  เช่น คลื่นในเส้นเชือก  เป็นต้น

2)  คลื่นตามยาว  (longitudinal  waves)  คลื่นตามยาวเป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน  มีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่คลื่นเคลื่อนที่  เช่น  คลื่นในขดลวดสปริง  คลื่นเสียงเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น